ในการเลือกซื้อ/หาที่พักอาศัยย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ปัจจัยแรกในการพิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย ได้แก่ จำนวนคนที่จะอยู่ร่วมกัน หากมีจำนวนผู้อาศัยจำนวนมากก็ควรเลือกซื้อเป็นลักษณะบ้านเดี่ยว หรือหากอาศัยอยู่เพียง 1 - 2 คน การเลือกซื้อคอนโดย่อมน่าสนใจมากกว่า นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ตั้งไว้ ปัจจุบัน บ้านมือสองมีความสนใจมากขึ้น เนื่องจาก ราคาซื้อขายสามารถต่อรองได้ ตกแต่งปรับปรุงทำความสะอาดอีกเพียงเล็กน้อยก็เข้าอยู่ได้เลย ไม่มีความเสี่ยงที่จะได้บ้านกระดาษเพราะโครงการล้ม และที่สำคัญ คุณสามารถที่จะเลือกสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นรอบๆ บ้านคุณได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกซื้อบ้านมือสอง ควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
2. เลือกตัวบ้านให้ตั้งตามทิศทางของลมและแสดงแดด สำหรับบ้านที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ควรหันหน้าไปทางทิศเหนือหรือทิศใต้ เพื่อให้ตัวบ้านสามารถรับลมตามแนวลมที่พัดผ่านในฤดูกาลต่างๆ ของประเทศได้ดีกว่า และพิจารณาเลือกบ้านที่หันหน้าไปทิศตะวันออกรองลงมา ส่วนบ้านที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก หากไม่มีแนวต้นไม้หรือตึกสูงบังแสดงในตอนบ่าย บ้านจะได้รับแสงด้านหน้าบ้านตรงๆ ทำให้บ้านร้อนอบอ้าง เปลืองพลังงาน
3. ศึกษาสภาพแวดล้อมที่อยู่ข้างเคียง ควรพิจารณาประเด็นต่างๆ ได้แก่
- ด้านการเดินทาง บ้านตั้งอยู่ในทำเลที่มีการเดินทางสะดวกหรือไม่ เชื่อต่อได้หลายเส้นทางหรือมีสาธารณูปโภคอำนวยความสะดวกมากพอหรือไม่
- สิ่งรบกวน ควรพิจารณาโอกาสในการเกิดสิ่งรบกวนที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ กลิ่น เสียง ประวัติน้ำท่วม/น้ำขัง รวมถึง สภาพความปลอดภัยหรือทัศนียภาพรอบบริเวณบ้าน เป็นต้น
- ราคาทรัพย์สิน ควรประเมินราคาทรัพย์สินเบื้องต้นก่อน เช่น ดูว่าขนาดของทรัพย์สินเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์หรือไม่ สภาพทรัพย์สินเบื้องต้น เช่น ขนาดของทรัพย์สินเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์หรือไม่ สภาพทรัพย์สินต้องการการปรับปรุงมากน้อยเท่าไร เป็นต้น โดยการเปรียบเทียบกับราคาบ้านในบริเวณใกล้เคียง หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดิน/ธนาคาร
4. สำรวจสภาพบ้านหาร่อยรอยชำรุดในโครงสร้างหลักๆ ของบ้าน ได้แก่ เสา คาน โครงหลังคา หรือร่องรอยการชำรุดของผนัง รอยรั้วของหลังคา หรือร่องรอยของปลวกซึ่งจะมีผลมากต่อความแข็งแรงของตัวบ้าน
5 สำรวจภายในเพื่อเปรียบเทียบบ้านแต่ละหลังโดยคำนึงถึงมูลค่าวัสดุตกแต่งหรือการต่อเติมในส่วนต่างๆ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องพักผ่อน รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งมักจะขายพร้อมบ้านในบ้านมือสองบางหลัง
นอกจากนี้ ควรเจรจาเกี่ยวกับรูปแบบการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนบ้านให้เรียบร้อยด้วยนะคะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Thank you for your comment, it will be showed later.