เอกสารเกี่ยวข้องกับการซื้อขายบ้าน

สำหรับการซื้อขายบ้านเองโดยไม่ได้ผ่านทางนายหน้า มาดูกันคะว่าทำยังไงให้ปลอดภัยและมั่นใจระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายคะ ก่อนอื่นมาดูกันคะว่าในการซื้อขายบ้านมักจะมีสัญญาที่เกี่ยวข้องหลักๆ 2 สัญญา คะ
  1. สัญญาจองซื้อบ้าน : เพื่อแสดงเจตนารมย์และความตั้งใจของผู้ซื้อและผู้ขายในการจะซื้อจะขายบ้านหลังที่ระบุในสัญญา ด้วยจำนวนเงินและวันเวลาที่ตกลงกันไว้
  2. สัญญาจะซื้อจะขายบ้าน : สัญญาแสดงถึงการซื้อขายบ้านหลังที่ระบุในสัญญา เพื่อแสดงถึงการรับมอบอสังหาริมทรัพย์และเงินทั้งหมด  จะเห็นว่าจะใช้คำว่า "จะซื้อจะขาย" เนื่องจากสัญญาซื้อขายจะทำกันที่กรมที่ดินต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้นคะ

คราวนี้มาดูกันคะว่าสาระสำคัญในสัญญาจอง ประกอบด้วยอะไรกันบ้าง
  1. วันที่และสถานที่ทำสัญญาจอง
  2. ชื่อผู้จองและผู้รับจอง 
  3. รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ที่จะจอง : ควรมีข้อมูลที่ครบถ้วน ได้แก่ เลขที่บ้าน ที่อยู่ เลขที่โฉนด เป็นต้น
  4. ราคาทรัยพ์สิน : ควรระบุจำนวน วิธีการชำระเงิน วันและเวลาในการชำระเงินตามที่ตกลงกันทั้งสองฝ่ายให้ชัดเจนและถูกต้อง
  5. กำหนดวันทำสัญญาจะซื้อจะขาย
  6. เงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุในสัญญาจอง
  7. การลงชื่อของคู่สัญญาและพยาน

มาต่อกันด้วยสาระสำคัญในสัญญาจะซื้อจะขาย ประกอบด้วย

  1. รายละเอียดการจัดทำสัญญา : ได้แก่ ชื่อผู้จองและผู้รับจอง วันที่ทำสัญญาฯ
  2. รายละเอียดของคู่สัญญา 
  3. รายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ : ควรมีข้อมูลที่ครบถ้วน ได้แก่ เลขที่บ้าน ที่อยู่ เลขที่โฉนด เป็นต้น
  4. ราคาขายและรายละเอียดการชำระเงิน : ควรระบุจำนวน วิธีการชำระเงิน วันและเวลาในการชำระเงินตามที่ตกลงกันทั้งสองฝ่ายให้ชัดเจนและถูกต้อง
  5. กำหนดวันและรายละเอียดในการโอนกรรมสิทธิ์
  6. รายละเอียดการส่งมอบที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  7. การโอนสิทธิและคำรับรองของผู้จะขาย ได้แก่ การบังคับว่าผู้จะซื้อไม่สามารถโอนสิทธิไปยังคนอื่นได้ เว้นแต่จะได้รับคำยินยอมเป็นหนัสือจากผู้จะขายเท่านั้น หรือหากต้องการโอนสิทธิ ผู้จะซื้อจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กับผู้จะขายเป็นเงินจำนวนเท่าไร เป็นต้น  นอกจากนี้ ผู้จะขายจะต้องรับรองว่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะซื้อจะขายไม่มีภาระผูกพันดใดๆ อยู่ รวมถึง ผู้จะขายจะต้องไม่นำที่ดินไปก่อให้เกิดภาระผูกพันใดๆ ขึ้นอีกนับแต่ทำสัญญาจะซื้อจะขายขึ้น
  8. การผิดสัญญาและระงับสัญญา เป็นการระบุว่าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญาฯ จะมีผลอย่างไร
  9. เงื่อนไขต่างๆ ที่ระบุในสัญญาจอง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
  10. การลงชื่อของคู่สัญญาและพยาน

ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายควรจะตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในสัญญาฯ ที่จะทำระหว่างกันทั้งสองฝ่ายนะคะ เพียงเท่านี้ก็สบายใจทั้งสองฝ่ายคะ คราวนี้ ถึงวันที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ในสัญญา แล้วต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างละ มาดูกันคะ เพื่อจะได้ไม่ตกหล่นในวันที่ไปโอนกรรมสิทธิ์กันนะคะ




ขอบคุณรูปตัวอย่างสัญญาจาก  internet

Share:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Thank you for your comment, it will be showed later.

Popular Posts

Just Pick It