สำหรับผู้ที่กำลังมองหาที่อยู่อาศัย นอกจากทำเลของบ้านหรือคอนโดที่กำลังหาซื้อ ปัจจัยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ งบประมาณในการซื้อบ้าน ซึ่งอาจเลือกซื้อด้วยเงินสดหรือเงินกู้บางส่วน สำหรับผู้ที่ต้องการกู้เงินเพื่อซื้อบ้านต้องมีการเตรียมตัวดังนี้
- การเตรียมความพร้อม ได้แก่ statement เป็นต้น สำหรับผู้ที่ทำงานมีรายได้ประจำ slip เงินเดือนหรือหนังสือรับรองฯ 50 ทวิ สามารถใช้ในการยืนยันรายได้ ส่วนผู้ที่มีอาชีพอิสระสามารถใช้บัญชีเงินฝากที่มีเงินเข้าเป็นประจำได้เช่นกัน
- เครดิต แน่นอนว่าผู้กู้ควรมีสถานะสินเชื่อหรือประวัติการชำระหนี้ที่ดี ซึ่งสามารถทำได้โดยการตรวจสอบเครดิตบูโรได้
- การเตรียมเงินออมให้พร้อม สิ่งสำคัญในการซื้อบ้านหรือคอนโด คือ "เงินดาวน์" ควรมีการกันเงินสำรองฉุกเฉินไว้อย่างน้อย 6 เดือนก่อนการกู้บ้านและควรมีเงินดาวน์อย่างน้อย 10% ของราคาบ้านที่ตั้งใจไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถผ่อนได้อย่างสบายกระเป๋านั้นเอง
ถ้าคุณมีการเตรียมตัวที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ก็มาถึงการเตรียมเอกสารประกอบการกู้ยืม ดังนี้
นอกจากนี้ต้องเตรียมเอกสารหลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งประกอบด้วย
- สำเนาโฉนดที่ดินหรือสำเนากรรมสิทธิ์ห้องชุด
- สำเนาเอกสารสัญญาซื้อขาย
- เอกสารหลักฐานการชำระเงินดาวน์
- แผนที่โดยสังเขปของที่ตั้งหลักทรัพย์ค้ำประกัน
หมายเหตุ อาจมีเพิ่มเติมแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร ดังนั้น ควรศึกษารายละเอียดของแต่ละธนาคารให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจด้วยนะคะ
หลังจากที่เตรียมตัวแล้ว ถึงเวลาจะกู้บ้านให้สบายกระเป๋า สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ
- มีเงินดาวน์เท่าไร ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยนั้น กำหนดให้ผู้ที่จะซื้อบ้านต้องมีเงินดาวน์ไม่น้อยกว่า 10% ของราคาบ้าน ดังนั้น หากจะซื้อบ้านราคาซัก 3 ล้านบาทจะต้องมีเงินเก็บเพื่อเป็นเงินดาวน์อย่างน้อย 3 แสนบาท หากมีเงินดาวน์มากกว่าก็จะทำให้ประหยัดค่าดอกเบี้ยลงไปได้
- ยอดผ่อนชำระต่อเดือน ปกติแล้วภาระการผ่อนรายเดือนที่ไม่หนักจนเกินไป ไม่ควรเกิน 40% ของราได้ก่อนภาษี หากรายได้คนเดียวผ่อนไม่ไหว สามารถกู้ร่วมได้ ทั้งนี้ การกู้ร่วม ผู้กู้ร่วมต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดหรือเป็นสามีภรรยา
- ระยะเวลาในการผ่อนชำระ ปกติจะผ่อนสูงสุดไม่เกิน 30 ปี เนื่องจากระยะเวลาผ่อนเมื่อรวมกับอายุของผู้กู้แล้ว ต้องไม่เกิน 60 - 65 ปี (ช่วงอายุเกษียณ) ระยะเวลาผ่อนสั้น ยอดผ่อนชำระรายเดือนจะมากกว่าระยะเวลาผ่อนยาว หากมีความสามารถในการผ่อนสูง สามารถเลือกผ่อนสั้นได้เพื่อให้หมดภาระได้เร็วและประหยัดค่าดอกเบี้ยจ่าย
- รูปแบบอัตราดอกเบี้ย ปัจจุบันสถาบันการเงินมีทางเลือกให้กับผู้ขอสินเชื่อ ในการเลือกผ่อนชำระและรูปแบบอัตราดอกเบี้ย ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยคงตัวหรืออัตราดอกเบี้ยลอยตัวหรืออัตราดอกเบี้ยผสม เป็นต้น ผู้ขอสินเชื่อควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ ควรเลือกอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัว เมื่ออัตราดอกเบี้ยมีแนวโน้มลดลง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Thank you for your comment, it will be showed later.