มารู้จักเอกสารสิทธิ์เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์กันดีกว่า
แบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.๑)
|
ใบแจ้งการครอบครองที่ดินเป็นหลักฐานว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่าครอบครองที่ดินแปลงใดอยู่
|
---|---|
ใบจอง (น.ส.๒) | หนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจับจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฏหมายที่ดิน ซึ่งทางราชการจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคร่าวๆ ในท้องที่และผู้ต้องการจับจองควรคอยฟังข่าวของทางราชการ |
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.๓ | ออกให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินทั่วๆ ไป ในพื้นที่ไม่มีระวางมีลักษณะเป็นแผนที่รูปลอยไม่มีการกำหนดตำแหน่งที่ดินแน่นอน หรือออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ |
น.ส.๓ก | ออกในท้องที่ที่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศโดยมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ |
น.ส.๓ข | ออกในท้องที่ที่ไม่มีระวางรูปถ่ายทางอากาศ |
ใบไต่สวน (น.ส.๕) | หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดินเป็นหนังสือแสดงให้ทราบว่าได้มีการสอบสวนสิทธิในที่ดินแล้ว สามารถจดทะเบียนตามประมวลกฏหมายที่ดินได้ ใบไต่สวนไม่ใช่หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์แต่สามารถจดทะเบียนโอนให้กันได้ |
โฉนดที่ดิน .......................................................... | หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งออกให้ตามประมวลกฏหมายที่ดินปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงโฉนดแผนที่ โฉนดตราจอง และตราจองที่ว่า "ได้ทำประโยชน์แล้ว" ซึ่งออกให้ตามกฏหมายเก่า แต่ถือว่ามีกรรมสิทธิ์เช่นกัน |
Reference : กรมที่ดิน, pdf file
เคล็ดไม่ลับในการเตรียมตัวขอเงินกู้ซื้อบ้าน
สำหรับผู้ที่กำลังคิดจะกู้เงินซื้อบ้านมาดูเคล็ดไม่ลับในการเตรียมตัวขอเงินกู้ซื้อบ้านกันเลยคะ
1. ตรวจสอบข้อมูลเครดิตบูโร |
สามารถตรวจสอบได้ที่
http://www.ncb.co.th
หลักฐานในการตรวจสอบเครดิตบูโร
คือ บัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของผู้กู้
|
2. ตรวจสอบวินัยทางการเงิน |
ทางสถาบันทางการเงินมักจะดูประวัติการผ่อนชำระหนี้
(ได้แก่
การผ่อนชำระค่าสินค้า เป็นต้น)
ของผู้กู้ว่ามีการผ่อนชำระตรงตามกำหนดและสม่ำเสมอหรือไม่
|
3. เลือกบ้านที่เหมาะสมกับรายได้ |
แนวคิดในการประมาณการซื้อบ้านให้เหมาะกับรายได้
ดังนี้
|
Step
1 ราคาบ้านที่จะกู้ซื้อได้ คิดได้ดังสูตร
รายได้ต่อเดือน x 60เท่าของรายได้ = ราคาบ้านที่กู้ซื้อได้
|
|
ตัวอย่างที่
1
ผู้กู้มีรายได้ประมาณ
30,000
บาทต่อเดือน
โดยไม่มีภาระหนี้อื่นใด
ดังนั้น ราคาบ้านที่จะกู้ซื้อได้จะอยู่ประมาณ
1.8
ล้านบาท
เป็นต้น
|
|
Step
2 ความสามารถในการผ่อนชำระ
รายได้ต่อเดือน
x
30%หรือ40%
= ความสามารถผ่อนชำระ
ตัวอย่างที่
2
ผู้กู้มีรายได้ประมาณ
30,000
บาทต่อเดือน
โดยไม่มีภาระหนี้อื่นใด
ดังนั้น
ความสามารถในการผ่อนชำระจะอยู่ประมาณ
9,000
– 12,000 บาทต่อเดือน
เป็นต้น
เกณฑ์ในการประเมินความสามารถในการผ่อนชำระบางสถาบันการเงินอาจจะให้สูงสุด
50%
|
|
Step
3
กรณีที่ผู้กู้มีภาระหนี้สินอื่นอยู่ก่อนแล้ว
จะทำให้วงเงินที่จะต้องการกู้ซื้อบ้านลดลง
(1,000,000
/ 7,000) x ความสามารถในการผ่อนชำระ
=
วงเงินที่สามารถกู้ได้
ตัวอย่างที่
3
ผู้กู้มีรายได้ประมาณ
30,000
บาทต่อเดือน
มีภาระในการผ่อนรถอยู่เดือนละ
8,000
บาท
จากตัวอย่างที่ 2
ทำให้ผู้กู้มีความสามารถในการผ่อนชำระสูงสุดเหลือเพียง
4,000
บาท
ดังนั้น วงเงินที่จะสามารถกู้ได้ลดเหลือเพียง
571,429
บาท
เป็นต้น
*แนวคิดในการประเมินความสามารถในการกู้
ผ่อนชำระและวงเงินซื้อบ้านนี้
อาจจะแตกต่างกันในแต่ละสถาบันการเงิน*
|
|
4.
เงินออม
|
ผู้กู้ควรมีเงินสำรองอย่างน้อย
5
– 15% ของราคาบ้านที่ต้องการจะซื้อ
(สำหรับค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ
จดจำนอง เงินดาวน์ และอื่นๆ)
และอีก
10%
เพื่อใช้ในการตกแต่งบ้าน
ตัวอย่างที่
1
กรณีบ้านราคา
1
ล้านบาท
ตัวอย่าง บ้านเดี่ยวราคา1 ล้านบาท เรียกเก็บเงินดาวน์ 10% = 1 แสนบาท ให้ผ่อนดาวน์ 3 เดือน = ชำระค่าดาวน์บ้านเฉลี่ยเดือนละ 3.33 หมื่นบาท
|
5.
บัญชีธนาคาร
|
สถาบันการเงินจะขอดูบัญชีธนาคารย้อนหลัง
6
เดือน
สำหรับผู้ที่คิดจะกู้เงินจึงควรจะมีเงินคงไว้ในบัญชีอย่างสม่ำเสมอ
|
6.
บัตรเครดิตทีึ่ไม่จำเป็น….
จงยกเลิก
|
สถาบันการเงินจะมองว่าวงเงินที่ผู้กู้ได้รับในบัตรเครดิตแต่ละใบถือเป็นวงเงินหนี้สินที่อาจจะมีขึ้นของผู้กู้
ซึ่งจะทำให้โอกาสการอนุมัติสินเชื่อบ้านลดลงด้วย
|
7.
เตรียมความพร้อมก่อนยื่นขอสินเชื่อบ้าน
|
โดยการหาข้อมูล
เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์สินเชื่อบ้านของสถาบันการเงินแต่ละแห้งว่าเป็นอย่างไร
อัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่
วงเงินที่ให้กู้
ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการใช้บริการ
และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
เป็นต้น
|
8.
ประเมินโครงการอสังหาริมทรัพย์
|
กรณีที่ไปซื้อบ้าน
/
คอนโดของโครงการต่างๆ
ควรดูความน่าเชื่อถือ
ชื่อเสียงและคุณภาพของโครงการ
ซึ่งหากเป็นโครงการจากดิวิลอปเปอร์ชั้นนำจะได้รับเชื่อมั่นจากสถาบันการเงินมากขึ้น
และมักจะให้วงเงินกู้สูงสุด
100%
หากเป็นโครงการที่มาจากดิวิลอปเปอร์ที่ยังไม่มีชื่อเสียงและหน้าใหม่ของวงการ
สถาบันการเงินมักจะให้วงเงินกู้ไม่ถึง
100%
แม้ว่าจะเป็นโครงการใหม่ก็ตาม
|
มารู้จักดอกเบี้ยเงินกู้กันหน่อยไหม
ใครที่กำลังคิดจะกู้เงิน ต้องทำความรู้จักกับอัตราดอกเบี้ยกันก่อนเลยคะ มาดูกันว่าอัตราดอกเบี้ยที่ทางสถาบันการเงินคิดมีอะไรบ้าง
- MLR (Minimum Loan Rate) หลายคนอาจจะไม่ค่อยได้ยินคำนี้ เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ทางสถาบันการเงินเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน นิยมใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีการกำหนดระยะเวลาชัดเจน
- MRR (Minimum Retail Rate) เป็นคำที่ได้ยินกันบ่อย เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ทางสถาบันการเงินเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ไม่มีการกำหนดระยะเวลาเงินกู้ชัดเจน ผ่อนชำระไปเรื่อยๆ จนกว่าจะชำระเงินต้นหมด
- MOR (Minimum Overdraft Rate) เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ทางสถาบันการเงินใช้กับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีที่มีการเบิกเงินเกินบัญชี
นอกจากอัตราดอกเบี้ยเหล่านี้แล้ว อาจจะมีคำเรียกอื่นๆ ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละธนาคารได้เช่นกัน