การเลือกใช้สีทาบ้าน
ใครจะทาสีบ้านใหม่ควรจะเลือกใช้สีทาบ้านให้ถูกประเภท เพื่อให้บ้านสวยงามยืนนานขึ้น ก่อนอื่นก็มาดูกันคะว่าสีทาบ้านมีกี่ประเภทกันคะ
แบ่งตามชนิดของสี
สีน้ำอะครีลิค หรือ สีน้ำพลาสติกเป็นสีที่ใช้ทาได้ทั้งภายนอกและภายใน โดยสีสำหรับทาภายนอกจะมีราคาสูงกว่าสีทาภายใน แต่ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และทนทานต่อเชื้อรา ตะไคร่น้ำ หรือความเป็นด่างของพื้นผิวได้ดี ให้ความคงทนสวยงาม มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน เหมาะ สำหรับอาคารพื้นผิวปูน ปูนฉาบ คอนกรีต งานก่ออิฐ กระเบื้องแผ่นเรียบ อิฐ หรือพื้นผิวอื่นๆที่มีลักษณะเดียวกัน แนะนำใช้สำหรับ อาคาร คอนโดมิเนียม โรงงาน ที่ต้องการความคงทนเป็นพิเศษ
สีน้ำมัน
การใช้สีน้ำมันมักจะใช้ในการรักษาเนื้อไม้ในการทาสีบ้านหรือในการ
ทาสีสิ่งที่ต้องทนกับสภาวะอากาศเช่นเรือหรือสะพาน
เพราะคุณสมบัติที่ทนทานและเป็นเงาทำให้เป็นที่นิยมใช้กันทั้งในการตกแต่งภาย
ในและภายนอกทั้งที่ใช้บนไม้และบนโลหะ เพราะเป็นสีที่แห้งช้า
การแห้งช้าหรือเร็วก็ขึ้นอยู่กับความหนาของสีที่ทา
สีย้อมไม้
การใช้งาน เหมาะสำหรับใช้กับงานไม้ภายนอกและภายในทุกประเภท เช่น วงกบ
ประตู หน้าต่าง เชิงชาย ฝ้าระแนง บัว จั่ว ศาลา รั้วบ้าน ผนัง ราวบันได
เฟอร์นิเจอร์สนาม เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้าน บ้านทรงไทย และล็อกโฮม เป็นต้น
แบ่งตามการใช้
สีชนิดทาภายนอกอาคารให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจากการเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติการทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย
สีน้ำพลาสติกทาภายใน
ควรทาด้วยสีพลาสติกซัก 2-3 เที่ยว ไม่ควรใชัสีสำหรับทาภายนอกคะ ก่อนทาสีควรทำความสะอาดพื้นผนังที่จะทาและควรทำให้ไม่มีความชื้นก่อนทาด้วยคะ
เพื่อให้สีที่ทามีความคงทนนานขึ้น
ช่วงนี้
มีข่าวเกี่ยวกับสารตะกั่วในสีน้ำมันที่ใช้ทาบ้าน
จากการตรวจพบว่าสีน้ำมันที่มีการจำหน่ายอยู่ในประเทศมีปริมาณสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน ปัจจุบัน มาตรฐานปริมาณสารตะกั่วในสีทาอาคารของ
มอก. เป็นแบบสมัครใจ กล่าวคือ แล้วแต่ผู้ประกอบการจะทำหรือไม่
ไม่มีผลบังคับและโทษทางกฏหมายหากไม่ติดสัญลักษณ์ มอก. โดยทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(สมอ.) ได้ปรับมาตรฐานสมัครใจเรื่องปริมาณสารตะกั่วจากเดิม 600 ppm เหลือเพียง 100 ppm อย่างไรก็ตาม
ผลจากการศึกษาดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดความตระหนักถึงสารตะกั่วที่มีอยู่ในสีที่ใช้และการออกกฏหมายควบคุมด้วย แน่นอนว่าสารตะกั่วมีพิษอย่างร้ายแรงต่อระบบประสาทและสติปัญญา โดยเฉพาะในเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ที่ร่างกายจะสามารถดูดซึมสารตะกั่วเข้าร่างกายได้เร็วกว่าผู้ใหญ่ ผลจากการศึกษาของ Canfield และคณะ พบว่าสารตะกั่วที่เพิ่มขึ้นทุก 10 ไมโครกรัมต่อเดซิลิตรจะทำให้ไอคิวลดลง
4.6 จุด
หมายเหตุ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
http://thaipublica.org/2013/10/asia-lead-paint-elimination-project/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
Thank you for your comment, it will be showed later.